การประยุกต์ใช้โซลาร์เซลล์

ระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคา (Solar Rooftop)

การประยุกต์ใช้โซลาร์เซลล์

โดยมีวัตถุประสงค์
1. เพื่อใช้เอง
2. เพื่อขายคืนในราคาพิเศษให้กับการไฟฟ้านครหลวง(กฟน.)หรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค(กฟภ.)ตามมาตรการส่งเสริมการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ของกระทรวงพลังงาน

ในปัจจุบันได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตโซลาร์เซลล์ทำให้ประสิทธิภาพของโซลาร์เซลล์สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และราคาถูกลงอย่างมากเมื่อเทียบหลายสิบปีก่อน มีผลทำให้การประยุกต์ใช้งานโวลาร์เซลล์มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น โดยเราสามารถนำแผงโซลาร์เซลล์ไปประยุกต์ใช้ทั้งในระดับอุตสาหกรรม ภาคธุรกิจ เป็นสินค้าที่ใช้ในครัวเรือน เช่น ของเล่นต่างๆ เครื่องชาร์จโทรศัพท์มือถือ แบตเตอรี่สำรอง นาฬิกา พัดลม ฯ

ส่วนในภาคเอกชนก็ได้มีการประยุกต์ใช้ระบบโซลาร์เซลล์มาผลิตไฟฟ้าเพื่อชดเชยหรือเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานไฟฟ้าจากผลิตไฟฟ้าที่ใช้พลังงานจากฟอสซิล (ถ่านหิน น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ ไฟฟ้านิวเคลียร์)

ซึ่งในปัจจันรัฐบาลไทยได้มีนโยบายได้ส่งเสริมและสนับสนุนการใช้พลังงานไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์โดยกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน กำหนดให้มีการซื้อคืนไฟฟ้าที่ผลิตจากโซลาร์เซลล์ที่ติดตั้งบนหลังคาและบนพื้นดิน เรียกที่เรียกกันว่า “โซลาร์รูฟท็อป-Solar Rooftop”และ “โซลาร์ฟาร์ม-Solar Farm”

  • ระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา (Solar PV Rooftop) แบ่งออกย่อยเป็น

1. หลังคาบ้านอยู่อาศัย อาคารพาณิชย์ โรงจอดรถ

2. หลังคาโรงงานอุตสาหกรรม

  • ระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนพื้นดิน (Solar Farm)
  • ระบบไฟฟ้าส่องสว่างถนนพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Street light)
  • ระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Pump) เป็นต้น

ส่วนในภาคอุตสาหรกรรมขนส่งและอากาศยาน ก็นำไฟใช้ในการขับเคลื่อนรถยนต์ เครื่องบิน และที่สำคัญใช้เป็นแหล่งพลังงานไฟฟ้าในสถานีอวกาศซึ่งถือเป็นการประยุกต์ใช้ขั้นสูงสุดของโซลาร์เซลล์ในขณะนี้