ระบบโซลาร์การ์เดนไลท์

โคมไฟสวนพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Garden/ Light) ลักษณะการประยุกต์ใช้งาน แบบลักษณะเป็นโคม ประกอบด้วย ตัวโคมแผงเซลล์แสงอาทิตย์ขนาด 5-10 วัตต์และแบตเตอรี่ขนาด 2A 1. ติดตั้งบนพื้นดินโดยเสียบขาฝังลงในดินเพื่อส่องสว่างทางเดินในสวนหรือสนามหญ้าหรือในพื้นที่ที่ต้องการแสงไม่มากหรือประดับตกแต่งสวนเพื่อความสวยงาม 2. ติดตั้งบนกำแพงรั้วเสาไฟประดับบ้าน แบบลักษณะเป็นเสาโคม ประกอบด้วย ตัวเสาและโคมแผงเซลล์แสงอาทิตย์ขนาด 10-30 วัตต์และแบตเตอรี่ขนาด 50 แอมป์-ชั่วโมง ถือเป็นระบบไฟขนาดเล็กที่กระทัดรัดง่ายและสะดวกในการติดตั้ง
ระบบโซลาร์ปั๊ม

ระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Pump) ระบบสูบน้ำจากพลังงานแสงอาทิตย์ ถูกออกแบบเพื่อใช้แทนการใช้เครื่องสูบน้ำที่ใช้น้ำมันหรือไฟฟ้าจากระบบไฟฟ้าแบบปกติ (ระบบจำหน่ายของรัฐ) เพื่อใช้สูบน้ำจากแหล่งน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติ เช่น แหล่งน้ำผิวดิน (บ่อน้ำ) หรือ แหล่งน้ำใต้ดิน (น้ำบาดาล) เพื่อนำไปใช้ในด้านต่างๆ เช่น อุปโภค -บริโภค , ภาคการเกษตร ,ภาคอุตสาหกรรม และระบบบำบัดน้ำเสีย ฯลฯ อุปกรณ์และหลักการทำงาน1. ชุดโครงสร้าง ทำหน้าที่เป็นตัวยึดแผงเซลล์แสงอาทิตย์ ทำจากเหล็กชุบกัลวาไนซ์หรือโลหะปลอดสนิม (Stainless Steel)2. ชุดแผงพลังงานแสงอาทิตย์ โดยจำนวนแผงและกำลังไฟฟ้าโดยขึ้นอยู่กับการออกแบบระบบฯ3. ชุดควบคุม (Converter unit) เป็นชุดควบคุมการจายกระแสไปยังเครื่องสูบน้ำไฟฟ้ากระแสตรง4. เครื่องสูบน้ำไฟฟ้ากระแสตรง (DC Pump) ทำหน้าที่สูบน้ำจากแหล่งน้ำไปยังจุดที่ต้องการ5. แบตเตอรี่ (Battery) ทำหน้าที่เก็บประจุหรือสำรองไฟกรณีที่ระบบออกแบบให้มีระบบสำรองไฟกรณีไม่มีแสงแดด (เวลากลางคืน) เมื่อแผงเซลล์แสงอาทิตย์รับแสงแดดจะผลิตกระแสไฟฟ้าที่ได้เข้าสู่เครื่องสูบน้ำโดยสามารถเลือกใช้พลังงานโดยตรงจากแผงโซลาร์เซลล์ (ในตอนกลางวัน) หรือ ดึงพลังงานมาจากแบตเตอรี่ (ในเวลากลางคืน) เครื่องสูบน้ำจะหยุดทำงานเองโดยอัตโนมัติมี 3 กรณี1. หากน้ำในแหล่งมีปริมาณไม่เพียงพอ (น้ำแห้ง)2. หากพลังงานไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ไม่เพียงพอในตอนเย็น กลางคืน ไม่มีแดด […]
ระบบโซลาร์โฮม

ระบบไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อบ้านพักอาศัย (Solar Home) คือระบบที่ได้รับการออกแบบสำหรับเป็นแหล่งจ่ายพลังงานไฟฟ้าให้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดต่างๆ ภายในบ้านพักอาศัยขนาดเล็กที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ห่างไกล (Remote Area) จากระบบสายส่งไฟฟ้าของรัฐ หรือพื้นที่เกาะ (Island) เพื่ออำนวยความสะดวกในการใช้ชีวิตประจำวันขั้นพื้นฐาน โดยแบ่งเป็นชุดต่างๆ ตามความต้องการและลักษณะการใช้งาน ถือเป็นระบบที่มีขนาดเล็กและราคาไม่แพง การใช้งานกับเครื่องใช้ไฟฟ้า1. หลอดไฟฟ้า1 เพื่อให้แสงสว่างภายในบ้าน 1-2 หลอด2. โทรทัศน์2ขนาด 50-100 วัตต์3. พัดลม3ขนาด 100 วัตต์4. ตู้เย็น4 อุปกรณ์และหลักการทำงานของระบบ1. ชุดโครงสร้าง เป็นเสาเหล็กชุบกัลวาไนซ์หรือสเตนเลส อาจเป็นเสาเดี่ยวหรือหลายเสา2. ชุดแผงโซลาร์เซลล์ ทำหน้าที่แปลงพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานไฟฟ้ากระแสตรง3. ชุดควบคุมและอินเวอร์เตอร์ ทำหน้าที่ในการควบคุมการประจุไฟฟ้าลงในแบตเตอรี่และจ่ายให้กับเครื่องใช้ไฟฟ้า4. แบตเตอรี่ ทำหน้าที่ในการเก็บสำรองไฟในกรณีที่พลังงานไฟฟ้าหลือจากการใช้งานของอุปกรณ์-เครื่องใช้ไฟฟ้า(หรือกรณีไม่ใช้)
ระบบโซลาร์ไฟส่องทาง

ระบบไฟส่องทางพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Street Light) อุปกรณ์ประกอบและหลักการทำงาน 1.เสา (Pillar)ทำหน้าที่เป็นโครงสร้างที่ยึดพื้นถนนกับระบบไว้ด้วยกัน ทำจากเหล็กชุบกัลวาไนซ์ หรือ โลหะปลอดสนิม (Stainless Steel) เพื่อป้องกันการเกิดสนิมและทนต่อสภาพดินฟ้าอากาศ 2. แผงโซล่าเซลล์ (PV)ขนากำลังวัตต์ก็ขึ้นอยู่ที่การออกแบบระบบ มีหน้าที่แปลงพลังงานแสองอาทิตย์เป็นพลังงานไฟฟ้ากระแสตรง 3.แบตเตอรี่ (Battery)โดยทั่วไปจะเป็นแบเตอรี่แบบดีฟไซเคิล (Deep Cycle) ที่มีคุณสมบัติที่เก็บประจุไฟฟ้าได้มากกว่าแบเตอรี่ที่ใช้กันในรถยนต์ (Lead-acid) และจ่าย/คายประจุไฟฟ้าได้อย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานๆซึ่งได้รับการออกแบบมาเพื่อใช้กับระบบโซลาร์เซลล์โดยเฉพาะ แบเตอรี่จะทำหน้าที่เป็นตัวจ่ายพลังงานไฟฟ้ากระแสตรงให้กับชุดควบคุม (Control unit) และ โคมไฟส่องสว่าง 4. ชุดควบคุม (Control unit)ทำหน้าที่ควบคุมการเก็บประจุไฟฟ้าลงในแบตเตอรี่ในเวลากลางวัน (Charging system) และคาย/จ่ายไฟให้กับอุปกรณ์นั่นคือหลอดไฟฟ้า (LED Lamp)โดยมีสวิทช์แสง (Photo switch) เป็นตัวควบคุมการเปิด-ปิดระบบ โดยทันทีที่ไม่มีแสงแดด (เวลากลางคืน) ไฟจะติดอัตโนมัติและดับเองโดยอัตโนมัติเมื่อมีแสงแดด (ตอนรุ่งเช้า) 5. ชุดโคมส่องสว่าง (Bulk)ทำหน้าที่เป็นก้านยึดกับตัวเสาและยื่นออกไปยังถนนให้ได้มุมหรือองศาที่ถูกต้องเพื่อให้ได้ความเข้มแสงหรือค่า Lux ที่เพียงพอตามการออกแบบและไม่รบกวนทัศนวิสัยของผู้ใช้ถนน 6. หลอดแอลอีดี (LED Lamp)ทำหน้าที่แปลงพลังงานไฟฟ้าเป็นแสงสว่าง โดยคุณสมบัติเด่นของหลอด […]
ระบบโซลาร์รูฟท็อป

ระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคา (Solar Rooftop) คือระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคาบ้านที่พักอาศัยหรือ หลังคาอาคารพาณิชย์หรือบนหลังคาอาคารโรงงาน โดยมีวัตถุประสงค์1. เพื่อใช้เอง2. เพื่อขายคืนในราคาพิเศษให้กับการไฟฟ้านครหลวง(กฟน.)หรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค(กฟภ.)ตามมาตรการส่งเสริมการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ของกระทรวงพลังงาน จากนี้ไปหลังคาบ้านของเราก็จะมีบทบาทมากกว่าการกันแดดกันฝนเพราะสามารถผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
การประยุกต์ใช้โซลาร์เซลล์

ระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคา (Solar Rooftop) การประยุกต์ใช้โซลาร์เซลล์ โดยมีวัตถุประสงค์1. เพื่อใช้เอง2. เพื่อขายคืนในราคาพิเศษให้กับการไฟฟ้านครหลวง(กฟน.)หรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค(กฟภ.)ตามมาตรการส่งเสริมการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ของกระทรวงพลังงาน ในปัจจุบันได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตโซลาร์เซลล์ทำให้ประสิทธิภาพของโซลาร์เซลล์สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และราคาถูกลงอย่างมากเมื่อเทียบหลายสิบปีก่อน มีผลทำให้การประยุกต์ใช้งานโวลาร์เซลล์มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น โดยเราสามารถนำแผงโซลาร์เซลล์ไปประยุกต์ใช้ทั้งในระดับอุตสาหกรรม ภาคธุรกิจ เป็นสินค้าที่ใช้ในครัวเรือน เช่น ของเล่นต่างๆ เครื่องชาร์จโทรศัพท์มือถือ แบตเตอรี่สำรอง นาฬิกา พัดลม ฯ ส่วนในภาคเอกชนก็ได้มีการประยุกต์ใช้ระบบโซลาร์เซลล์มาผลิตไฟฟ้าเพื่อชดเชยหรือเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานไฟฟ้าจากผลิตไฟฟ้าที่ใช้พลังงานจากฟอสซิล (ถ่านหิน น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ ไฟฟ้านิวเคลียร์) ซึ่งในปัจจันรัฐบาลไทยได้มีนโยบายได้ส่งเสริมและสนับสนุนการใช้พลังงานไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์โดยกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน กำหนดให้มีการซื้อคืนไฟฟ้าที่ผลิตจากโซลาร์เซลล์ที่ติดตั้งบนหลังคาและบนพื้นดิน เรียกที่เรียกกันว่า “โซลาร์รูฟท็อป-Solar Rooftop”และ “โซลาร์ฟาร์ม-Solar Farm” 1. หลังคาบ้านอยู่อาศัย อาคารพาณิชย์ โรงจอดรถ 2. หลังคาโรงงานอุตสาหกรรม ส่วนในภาคอุตสาหรกรรมขนส่งและอากาศยาน ก็นำไฟใช้ในการขับเคลื่อนรถยนต์ เครื่องบิน และที่สำคัญใช้เป็นแหล่งพลังงานไฟฟ้าในสถานีอวกาศซึ่งถือเป็นการประยุกต์ใช้ขั้นสูงสุดของโซลาร์เซลล์ในขณะนี้
โซลาร์เซลล์คืออะไร?

ในปัจจุบันได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตโซลาร์เซลล์ทำให้ประสิทธิภาพของโซลาร์เซลล์สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และราคาถูกลงอย่างมากเมื่อเทียบหลายสิบปีก่อน มีผลทำให้การประยุกต์ใช้งานโวลาร์เซลล์มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น โดยเราสามารถนำแผงโซลาร์เซลล์ไปประยุกต์ใช้ทั้งในระดับอุตสาหกรรม ภาคธุรกิจ เป็นสินค้าที่ใช้ในครัวเรือน เช่น ของเล่นต่างๆ เครื่องชาร์จโทรศัพท์มือถือ แบตเตอรี่สำรอง นาฬิกา พัดลม ฯ เซลล์แสงอาทิตย์ หรือที่เราเรียกทับศัพท์ว่า โซลาร์เซลล์ (Solar cell) หรือ เซลล์สุริยะ นั้นมีชื่อเป็นทางการว่า เซลล์โฟโตโวลตาอิก (Photovoltaic cell) เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าซึ่งทำหน้าที่แปลงพลังงานแสงหรือโฟตอนเป็นพลังงานไฟฟ้า โดยตรงโดยปรากฏการณ์โฟโตโวลตาอิก คำว่า “Photovoltaic” มาจากภาษากรีก φῶς ( Phos ) หมายถึง “แสง” และคำว่า “โวลต์” ซึ่งเป็นหน่วยของแรงเหนี่ยวนำ, คำว่าโวลต์มาจากนามสกุลของนักฟิสิกส์ชาวอิตาเลียนชื่อ อเลสซานโดร Volta ซึ่งเป็นนักประดิษฐ์แบตเตอรี่ (เซลล์ไฟฟ้าเคมี ) คำว่า “Photovoltaic” ถูกใช้ใน ภาษาอังกฤษตั้งแต่ปี 1849 เซลล์แสงอาทิตย์ คือ สิ่งประดิษฐ์ที่ทำจากสารกึ่งตัวนำ เช่น ซิลิคอน (Silicon), […]